วิสัยทัศน์ ปี 2555 - 2563
"เป็นสถาบันที่เป็นเลิศด้านโรคเรื้อนระดับนานาชาติ
และโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมระดับชาติภายในปี 2563"
พันธกิจ ปี 2555 - 2563
"พัฒนาวิชาการด้านโรคเรื้อน/โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุน
ให้เครือข่ายสามารถดำเนินงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด"
พันธกิจตามกฏหมาย
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม ตรวจวินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อน
- กำหนดและพัฒนามาตรฐานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม ตรวจวินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อน
- ให้บริการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อนในระดับตติยภูมิ
- ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม ตรวจวินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
- ประสานและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุขในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
- ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ กลไกและเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเรื้อน
- เป็นสถานกักกันผู้ป่วยโรคเรื้อน
- ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ค่านิยม
สถาบันฯ ยึดหลักค่านิยมร่วมกับกรมควบคุมโรค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น ค่านิยมดังกล่าวประกอบด้วยสมรรถนะหลัก (Core competency): " I SMART " และสมรรถนะที่จำเป็นตามภารกิจของกรมควบคุมโรค ( Functional competency) ซึ่งกรมควบคุมโรคกำหนดไว้ 3 สมรรถนะ ได้แก่ หลักระบาดวิทยา (Epidemiology) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development/R2R) และการติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation)
I : Integrity |
ยึดมั่นยืนหยัด ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสตรวจสอบได้ |
S : Service Mind |
การมีจิตใจพร้อมในการให้บริการ |
M : Mastery |
การทำงานอย่างมืออาชีพ |
A : Accountability/ Transparency |
การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และรับผิดชอบ |
R : Relationship |
การมีน้ำใจ ใจเปิดกว้าง เป็นพี่เป็นน้อง |
T : Teamwork |
การทำงานเป็นทีม |
ยุทธศาสตร์ 4 ปี (2555 - 2558)
ยุทธศาสตร์ที่ 1เครือข่ายทุกระดับสามารถบริหารจัดการและขับเคลื่อนการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค
กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายภาคีภายในพื้นที่ด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 1.2 ผลักดันกลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ในการดำเนินงานโรคเรื้อน ตามมาตรฐานอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการเฉพาะโรคที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
กลยุทธ์ที่ 2.1 พัฒนาระบบบริการและการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านโรคเรื้อนและโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นศูนย์กลาง นโยบาย/มาตรฐาน/ข้อมูลอ้างอิง/นวัตกรรม ฯลฯ
กลยุทธ์ที่ 3.1 ผลิตและพัฒนาผลงานวิชาการด้านโรคเรื้อนและโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมได้ตามมาตรฐาน (ตามคู่มือปฏิบัติงานที่กรมกำหนด)
กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาระบบบริการวิชาการ
กลยุทธ์ที่ 3.3 พัฒนาระบบการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อน
กลยุทธ์ที่ 3.4 พัฒนาหน่วยบริการต้นแบบด้านอาชีวอนามัย
กลยุทธ์ที่ 3.5 พัฒนาระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 มีกลไกการสื่อสารสาธารณะ ประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่คลอบคลุม
กลยุทธ์ที่ 4.1 พัฒนาระบบการสื่อสารสาธารณะ ประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม
ยุทธศาสตร์ที่ 5มีกลไกการจัดการการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
กลยุทธ์ที่ 5.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 มีกลไกการพยากรณ์โรคและติดตามประเมินผลของการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค
กลยุทธ์ที่ 6.1 พัฒนาระบบการเฝ้าระวัง การรายงานโรค (ฐานข้อมูล)
กลยุทธ์ที่ 6.2 พัฒนาระบบการกำกับติดตามประเมินผล
ยุทธศาสตร์ที่ 7เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีระบบบริหารจัดการทีได้มาตรฐานสากล
กลยุทธ์ที่ 7.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรและบริการตาม PMQA , HA , OG
ยุทธศาสตร์ที่ 8บุคลากรที่มีขีดสมรรถนะสูงและมีจิตใจให้บริการ
กลยุทธ์ที่ 8.1 พัฒนาและยกระดับสมรรถนะของบุคลากร ตามสมรรถนะที่กำหนด
|